top of page
Search
  • Writer's pictureJ.NOPPON

จะหาคนรับออกแบบโรงงาน ต้องเตรียมอะไรบ้าง (ตอนที่2)

บทความ ความรู้ ที่ดินสำหรับสร้างโรงงานและเครื่องจักรในโรงงาน

ที่ดินสำหรับสร้างโรงงาน
การเลือกที่ดินสร้างโรงงาน

3.ที่ดิน

การจัดหาที่ดินสร้างโรงงานเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะที่ดินที่จะสร้างโรงงานได้นั้นในปัจจุบันมีอยู่น้อยมากเป็นเพราะการขยายตัวของที่อยู่อาศัยและแหล่งชุมชนเพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่ในการสร้างโรงงานอยู่ในวงที่จำกัดโดยมีข้อกำหนดดังนี้


  • ที่ดินทั่วไปโดยกำหนดโดยผังสี โดยสีของพื้นที่สร้างโรงงานจะอยู่ใน พื้นที่สีม่วง ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า โดยแบ่งเป็น

ที่ดินประเภท อ. 1 เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเขตการบริหารและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสาหรับการประกอบกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย

ที่ดินประเภท อ. 2 เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเขตการบริหารและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสาหรับการประกอบกิจกรรมประเภทอุตสาหกรรมการผลิต


*ในแต่ละประเภทจะมีความต่างตรงที่จะสามารถใช้งานพื้นที่ดินได้ไม่เท่ากัน จากตารางจะเห็นได้ว่า พื้นที่ประเภท อ. 1 จะสามารถสร้างโรงงานได้ใหญ่กว่าประเภท อ.2 ถ้าเทียบกับขนาดพื้นที่ที่เท่ากันและยังขึ้นอยู่กับกิจการประเภทอุตสาหกรรมอีกด้วย

ตัวอย่าง ผู้ประกอบการซื้อที่ดินในเขตพื้นที่สีม่วงมา 1 ไร่=1,600 ตรม.

โดยตรวจสอบสถานภาพของโรงงาน อยู่ในจำพวก 1

แสดงว่าผู้ประการสามารถใช้ ที่ดินได้ 2 เท่า ตามที่ดินประเภท อ. 1

ที่ดิน x (FAR) 1,600x2 = สร้างอาคารได้พื้นที่ไม่เกิน 3,200 ตรม.

โดยต้องมีที่ว่าง (OSR) 15% =3,200x15%= พื้นที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุม 480 ตรม.

สรุปผู้ประกอบการสามารถ สร้างอาคารได้ ไม่เกิน 3,200-480=2,720 ตรม.


  • ที่ดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม การใช้พื้นที่ดินจะต้องปฎิบัติตาม ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยพื้นที่ดังกล่าวจะเหมาะสมต่อการก่อสร้างโรงงานและมีข้อกฎหมายเฉพาะเจาะจง โดยการสร้างอาคารโรงงาน ในที่ดินนั้น สามารถสร้างได้ถึง 70%ของพื้นที่โดยเว้นที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ดินแปลงนั้น

*ในการคิดคำนวณพื้นที่อาคารต้องดูระยะร่นของกฎหมายประกอบกันด้วยจึงจะสามารถคิดคำนวนพื้นที่โรงงานเบื้องต้นได้


4.เครื่องจักร

เครื่องจักรเป็นหัวใจของโรงงาน ผู้ประกอบการต้องมีความเข้าใจและจัดเตรียมความพร้อม ทาง Alma architect ได้รวบรวมปัญหาและสิ่งที่ต้องจัดเตรียมไว้ดังนี้

  • น้ำหนักของเครื่องจักร การสร้างโรงงาน ต้องทราบถึงน้ำหนักของเครื่องจักรเพื่อจัดเตรียมออกแบบพื้นของโรงงาน หากไม่ได้วางแผนมักเกิดปัญหาในระยะยาวที่พื้นไม่สามารถรับน้ำหนักของเครื่องจักรได้ ส่งผลให้พื้นทรุดหรือแตกร้าวได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป

  • กำลังไฟของเครื่องจักร การสร้างโรงงานต้องทราบถึงการใช้ไฟของเครื่องจักรเพราะถ้าไฟไม่พอจ่ายเครื่องจักรปัญหาที่เกิดขึ้นจะกระทบต่อเครื่องจักรรวมถึงการผลิต ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือไม่ได้จัดเตรียมไฟให้เพียงพอต่อเครื่องจักรในอนาคต

  • ขนาดและความสูงของเครื่องจักร ปัญหานี้เหมือนจะทำให้หลายๆคนมองข้ามแต่ในความเป็นจริงมีหลายครั้งที่ไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้าโรงงานได้ เพราะติดในเรื่องของความกว้างหรือเครื่องจักรสูงกว่าขนาดของประตูม้วน

  • เวลาการเตรียมเครื่องจักร ปัญหานี้เราเคยพบอยู่บ่อยครั้งที่เครื่องจักรประกอบเสร็จไม่ทันโรงงานหรือเครื่องจักรประกอบเสร็จแต่โรงงานสร้างไม่เสร็จ เพราะไม่ได้วางแผนการประกอบเครื่องจักรหรือการวางแผนการสร้างโรงงานได้ไม่ตามกำหนด

สิ่งเหล่านี้ถ้าวางแผนให้ได้ก่อนถึงจะไม่สมบูรณ์ที่สุดแต่ก็สามารถร่นระยะเวลาการก่อสร้างและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อยในตอนที่ 3 จะมีเรื่อง “ขนาดอาคารที่จะสร้าง” และ “กฎหมายที่ควรรู้” ให้ได้ติดตามกันในตอนต่อไปครับ

284 views0 comments
bottom of page